ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้กำหนดจุดประสงค์ด้านความรู้ (K) ดังนั้น ในการกำหนดจุดประสงค์ด้านความรู้จะต้องพิจารณาคำที่บ่งชี้พฤติกรรมด้านความรู้ ความจำ ได้แก่ บอก เล่า อธิบาย บรรยาย ระบุ ยกตัวอย่าง ฯลฯ โดยตรวจสอบว่าใช้คำบ่งชี้ด้าน K ได้ถูกต้องหรือไม่ จากนั้นพิจารณาส่วนประกอบโครงสร้างของจุดประสงค์ว่ากำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังและเกณฑ์ที่นำไปสู่การจัดกิจกรรมและตรวจสอบพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน เช่น “เมื่อจบบทเรียนแล้ว นักเรียนสามารถบอกความหมายของคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง”
1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านความรู้ (K)
ส่วนนี้ให้เขียนอธิบายรายละเอียดของกระบวนการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนแล้วผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งสามารถออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ออกแบบโดยมีครูเป็นผู้นำในการทำกิจกรรม เช่น "ครูอธิบายและบอกความหมายของคอมพิวเตอร์ โดยเขียนบอกความหมายบนกระดาน หรือใช้ใบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบการอธิบาย หรือใช้โปรแกรมนำเสนอความหมายของคอมพิวเตอร์" หรือแบบที่ 2 ออกแบบโดยกำหนดให้เห็นว่าผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น "นักเรียนสืบค้นความหมายของคอมพิวเตอร์จากใบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือสืบค้นจากหนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือสืบค้นจากเว็บไซต์"
1.1 นำเสนอแนวคิดเพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ด้านความรู้ (K)
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้นำเสนอการใช้สื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบกิจกรรม หรือเป็นการระบุรายการสื่อที่มีการนำไปใช้ประกอบกิจกรรมที่ออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น 1. ใบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 2. หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3. เว็บไซต์ 4. กระดาน 5. โปรแกรมนำเสนอความหมายของคอมพิวเตอร์ 6. เกมจับคู่คำกับความหมาย
1.2 นำเสนอสื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้นำเสนอวิธีการที่จะใช้ในการตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือบรรลุตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถามตอบเพื่อให้บอกความหมายของคอมพิวเตอร์ หรือ ทำใบงานเพื่อเขียนตอบบอกความหมายของคอมพิวเตอร์ หรือ ให้เล่นเกมจับคู่คำกับนิยามความหมายฯ เป็นต้น
1.3 นำเสนอวิธีการตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้กำหนดจุดประสงค์ด้านความรู้ (P) ดังนั้น ในการกำหนดจุดประสงค์ด้านความรู้จะต้องพิจารณาคำที่บ่งชี้พฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการ ได้แก่ จำแนก เปรียบเทียบ ฯลฯ โดยตรวจสอบว่าใช้คำบ่งชี้ด้าน P ได้ถูกต้องหรือไม่ จากนั้นพิจารณาส่วนประกอบโครงสร้างของจุดประสงค์ว่ากำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังและเกณฑ์ที่นำไปสู่การจัดกิจกรรมและตรวจสอบพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน เช่น “เมื่อกำหนดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ นักเรียนสามารถจำแนกประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง”
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านทักษะกระบวนการ (P)
ส่วนนี้ให้เขียนอธิบายรายละเอียดของกระบวนการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนแล้วผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งสามารถออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ออกแบบโดยมีครูเป็นผู้นำในการทำกิจกรรม เช่น “ครูอธิบายและบอกประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยใช้บัตรภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ติดแยกประเภทฯ บนกระดาน หรือใช้ใบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบการอธิบาย หรือใช้โปรแกรมนำเสนอประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์” หรือแบบที่ 2 ออกแบบโดยกำหนดให้เห็นว่าผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น “นักเรียนแบ่งกลุ่มในจำนวนที่เท่าๆ กัน จำนวน 4-5 กลุ่มเพื่อช่วยกันศึกษาประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์ จากใบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือสืบค้นจากหนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หรือสืบค้นจากเว็บไซต์ จากนั้นให้เขียนคำตอบลงในใบกิจกรรมประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์”
2.1 นำเสนอแนวคิดเพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ด้านทักษะกระบวนการ (P)
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้นำเสนอการใช้สื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบกิจกรรม หรือเป็นการระบุรายการสื่อที่มีการนำไปใช้ประกอบกิจกรรมที่ออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น 1. ใบความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 2. หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3. เว็บไซต์ 4. โปรแกรมนำเสนอประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์ 5. เกมตอบคำถามบอกประเภทของอุปกรณ์ว่าจัดอยู่ในหน่วยการทำงานใดของคอมพิวเตอร์ 6. บัตรภาพอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.2 นำเสนอสื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้นำเสนอวิธีการที่จะใช้ในการตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือบรรลุตามที่ กำหนดไว้ในจุดประสงค์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถามตอบเพื่อให้นักเรียนบอกประเภทของอุปกรณ์ตาม หน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมช่วยกันจำแนก ประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือนักเรียนทำใบงานเพื่อเขียนตอบบอก ประเภทของอุปกรณ์ตามหน่วยการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือให้เล่นเกมตอบคำถามบอกประเภทของอุปกรณ์ว่าจัดอยู่ในหน่วยการทำงานใดของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.3 นำเสนอวิธีการตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้กำหนดจุดประสงค์ด้านเจตคติ (A) ดังนั้น ในการกำหนดจุดประสงค์ด้านเจตคติจะต้องพิจารณาคำที่บ่งชี้พฤติกรรมด้านด้านเจตคติ หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ได้แก่ ตระหนัก ใฝ่รู้ รับผิดชอบ ตรงเวลา มุ่งมั่น มีจิตอาสา ฯลฯ โดยตรวจสอบว่าใช้คำบ่งชี้ด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้ถูกต้องหรือไม่ จากนั้นพิจารณาส่วนประกอบโครงสร้างของจุดประสงค์ว่ากำหนดพฤติกรรมที่คาดหวังและเกณฑ์ที่นำไปสู่การจัดกิจกรรมและตรวจสอบพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน เช่น “นักเรียนส่งงานที่มอบหมายตรงตามเวลาที่กำหนด” หรือ "นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันด้วยความสามัคคีและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง"
3. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านเจตคติ (A)
ส่วนนี้ให้เขียนอธิบายหรือบอกกระบวนการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนแล้วผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งสามารถออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ออกแบบโดยมีครูเป็นผู้นำในการทำกิจกรรม เช่น “ครูแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน” หรือแบบที่ 2 ออกแบบโดยกำหนดให้เห็นว่าผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น “ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่มโดยศึกษาและสืบค้นข้อมูลร่วมกัน” โดยจากตัวอย่าง การออกแบบกิจกรรมที่เป็นกระบวนการกลุ่มจะช่วยให้สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างชัดเจนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ด้านเจตคติตามที่ได้ยกตัวอย่างไว้ว่า "ผู้เรียนทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันด้วยความสามัคคีและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง"
3.1 นำเสนอแนวคิดเพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ด้านเจตคติ (A)
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้นำเสนอการใช้สื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบกิจกรรม หรือเป็นการระบุรายการสื่อที่มีการนำไปใช้ประกอบกิจกรรมที่ออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแบ่งกลุ่มผู้เรียน 2. แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมฯ 3. แบบบันทึกการตรงต่อเวลาในการส่งงาน ฯลฯ
3.2 นำเสนอสื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบกิจกรรม
ส่วนนี้โจทย์ต้องการให้นำเสนอวิธีการที่จะใช้ในการตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือบรรลุตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์ด้านเจตคติ หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนหรือไม่ ตัวอย่างเช่น 1. สังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม 2. ประเมินจากการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการมอบหมายงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม 3. พิจารณาจากการส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด 4. การใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมร่วมกับแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นต้น
3.3 นำเสนอวิธีการตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด